S T A R S H I P P I N G C A R G O L I K E S

Loading

Office Address
128/116 หมู่ 9 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
Email Address
starshipping.cs@gmail.com
Phone Number
061 395 5455
Contact Us

ข่าวสาร

PHYTOSANITARY CERTIFICATE

Phytosanitary certificate : PC คือ ใบรับรองปลอดศัตรูพืช ออกให้เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกปลอดจากแมลงศัตรูพืช และเป็นไปตามเงื่อนไขของประเทศปลายทาง

ในการส่งออกพืชหรือผลิตผลพืชไปต่างประเทศ หากผู้ส่งออกประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช เพื่อแสดงว่าพืชที่จะส่งออกนั้นปลอดศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการตรวจพืชเพื่อรับรองการปลอดศัตรูพืช ให้ได้ตามมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยพืชที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก และออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับพืชหรือผลิตผลพืช เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า โดยดำเนินการตรวจพืช ศัตรูพืช และควบคุมให้มีการกำจัดศัตรูพืชทางกักกันพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

การออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate; PC) ให้กับพืชและผลิตผลพืช เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ เป็นการปฏิบัติงาน ภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 15 และมาตรา 16 การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชไม่ใช่เป็นมาตรการบังคับให้ผู้ส่งออกพืช หรือผลิตผลของพืช ต้องขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช แต่เป็นการให้การบริการแก่ผู้ส่งออกที่มีความประสงค์ต้องการขอให้ทางราชการ รับรอง ว่าพืชและผลิตผลพืชที่ส่งออกนั้นปลอดศัตรูพืชพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องให้การบริการตรวจศัตรูพืช และออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้ ใบรับรองปลอดศัตรูพืชนี้จะออกให้เฉพาะกรณีรับรองการปลอดศัตรูพืชของพืชและผลิตผลพืชที่ส่งออกไป ยังต่างประเทศเท่านั้น

สำหรับการส่งออกมันสำปะหลังหรือผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผู้ส่งออกควรสอบถามเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรถึงเงื่อนไขของประเทศคู่ค้าที่จะส่งออก โดยสอบถามไปที่ กลุ่มบริการการส่งออก กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 6466-8 โดยทั่วไปนั้นมันสำปะหลังหรือผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จะต้องรมด้วย methyl bromide ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช

การตรวจและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate)

การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) ให้กับพืช/ ผลผลิตพืชเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ เป็น

การปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และพระราช บัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551ซึ่งการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชมิใช่มาตรการบังคับ หากขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ส่งออกหรือเป็ นความต้องการของประเทศผู้นำเข้าที่ต้องการให้มีใบรับรองสุขอนามัยพืชก ากับไปกับพืช/ผลผลิตพืช เพื่อเป็ นการแสดงว่าพืชที่ส่งออกไปนั้นปราศจากศัตรูพืช และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกักกันพืช หรือเงื่อนไขการนำเข้าของประเทศปลายทาง ยกเว้น การส่งออกพืชที่ถูกประกาศให้เป็นพืชควบคุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้ศัตรูพืชระบาดออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้ส่งออกต้องขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชหากประสงค์จะส่งออกพืชควบคุมดังกล่าว สำหรับการขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชนั ้น ผู้ส่งออกสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่กลุ่มบริการ ส่งออกสินค้าเกษตร หรือด่านตรวจพืช 42 ด่านทั่วประเทศ ซึ่งปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

วิธีการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช ( Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์กับผู้ประกอบการ จึงได้นำมาเผยแพร่ให้ได้ทราบ เป็นขั้นตอน ดังนี้

1 การเตรียมเอกสาร

1.1 แบบคำขอ พ.ก.9 จำนวน 1 ชุด ( ต้นฉบับ 1 ฉบับ และสำเนา 2 ฉบับ )

1.2 หนังสือมอบอำนาจ พร้อมหลักฐานการมอบอำนาจ (กรณีส่งออกในนามนิติบุคคล หรือผู้ส่งออกไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) หนังสือมอบอำนาจมีอายุ 1 ปี1

1.3 เอกสารประกอบอื่น (ถ้ามี) เช่น หนังสืออนุญาตนำเข้า (Import permit ) บัญชีรายการสินค้า (Packing List) ใบกำกับภาษี ( Invoice) ใบ Letter of Credit ( L/C ) เป็นต้น

1.4 หนังสือสำคัญแสดงการเป็นผู้ส่งออก ที่ออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร (ในกรณีการส่งออก ลำไย ทุเรียนสอ และดอกกล้วยไม้)

ตัวอย่างแบบ พ.ก. 9

2.ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 ติดต่อเจ้าหน้าที่ Font Desk เพื่อลงบันทึกการใช้บริการ

2.2 ผู้ส่งออกหรือตัวแทน ยื่นคำขอ พ.ก.9 พร้อมเอกสารประกอบ และแจ้งสถานที่ที่จะให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสินค้า ต่อเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ณ ศูนย์บริการออกแบบ เบ็ดเสร็จ (ศสบ.)

2.3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ พ.ก.9 และเอกสารประกอบและแจ้งชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ให้ผู้ส่งออกทราบเพื่อนัดหมายวัน-เวลา กับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะไปปฏิบัติงานโดยตรง

ค่าธรรมเนียมในการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช

ค่าธรรมเนียมใบรับรองปลอดศัตรูพืชฉบับละ 50 บาท

ค่าป่วยการ (กรณีนัดหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่) คิดตามระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยเริ่มนับจากเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานจนถึงสำนักงาน เวลา 08.30 น. -18.00 น. ชั่วโมงแรก 60 บาท ชั่วโมงต่อไป 20 บาท

หลังเวลา 18.00 น. ชั่วโมงแรก 80 ชั่วโมงต่อไป 40 บาท

ค่าพาหนะเดินทาง (กรณีนัดหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่) ให้ชำระตามอัตราที่กำหนดในประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดอัตราค่ายานพาหนะสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507

Phytosanitary Certificate

การติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม

สำนักงานผู้แทนกรมวิชาการเกษตรประจำ ณ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริม การส่งออก โทร.02-5120123 ต่อ 811 และ 820 โทรสาร. 02-512 0329

กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร.02-579-4568, 02-579-1581, 02-940-6466-8 โทรสาร 02 579-1581, 02-579-3576

กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรสำนักงานคลังสินค้า ที่ 2 ท่าอากาศยานกรุงเทพ โทร.02-504-2719-20,02-535-1696 โทรสาร.02-504-2720 (เปิดทำการทุกวัน)

ดูเพิ่มเติมhttp://www.doa.go.th/onestop/fs/issue7/index.htm

ที่มา : ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเตล็ด ( One Stop Service) ของกรมส่งเสริมการส่งออก และ กรม วิชาการเกษตร ขอบคุณ : หนังสือผู้ส่งออก Exports Review